Rising wedge
รูปแบบ Rising Wedge มักเกิดขึ้นในช่วงแนวโน้มขาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มขาขึ้นระยะยาวหรือระยะสั้น เมื่อแรงขายจากผู้ขายเริ่มทัดเทียมกับแรงซื้อ

นี่คือลักษณะของรูปแบบ rising wedge บนกราฟราคา อย่างที่เห็นในตอนแรก ระยะห่างระหว่างจุดสูงสุดที่สูงขึ้นและจุดต่ำสุดที่สูงขึ้นจะสังเกตเห็นได้ชัด แต่เมื่อราคาใหม่ก่อตัวขึ้น ระยะห่างนี้จะเริ่มลดลง การเกิดจุดสูงสุดที่สูงขึ้นใหม่จะช้าลงในขณะที่จุดต่ำสุดที่สูงขึ้นยังคงปรากฏในความเร็วเท่าเดิม เส้นที่ลากตามจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดที่สูงขึ้นจะค่อย ๆ เข้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ และใกล้จะมาบรรจบกัน ซึ่งแสดงถึงความสนใจของผู้ซื้อที่ลดลงและดูเหมือนจะต้านทานแรงกดดันจากฝั่งผู้ขายที่เพิ่มขึ้นไม่ได้
จากนั้นเมื่อเส้นแนวต้านและแนวรับเข้าใกล้กันมากเป็นพิเศษ การทะลุก็จะเกิดขึ้นและราคาจะปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว โดยจะทำลายเส้นแนวรับลงมา ไม่เหมือนรูปแบบกราฟอื่น ๆ รูปแบบ rising wedge จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและราคาจะร่วงลงอย่างมาก ซึ่งแสดงว่าฝั่งผู้ซื้อยอมจำนนต่อแรงกดดันจากฝั่งผู้ขายแล้ว
Falling wedge
รูปปแบบ falling wedge เป็นอีกหนึ่งรูปแบบทางเทคนิคบนกราฟที่ทำหน้าที่เป็นสัญญาณการกลับตัวหรือต่อเนื่องของแนวโน้ม แต่ต่างจากรูปแบบ rising wedge ตรงที่รูปแบบ falling wedge มักเกิดขึ้นที่ส่วนท้ายของแนวโน้มขาลง และบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่ราคาจะปรับตัวสูงขึ้น

ดังที่เห็นบนกราฟนี้ รูปแบบ Falling wedge มักปรากฏที่จุดสิ้นสุดของแนวโน้มขาลง โดยแนวโน้มขาลงบนกราฟเริ่มชะลอตัว และแรงต้านจากผู้ขายดูเหมือนจะอ่อนแอลงเมื่อเทียบกับแรงหนุนของผู้ซื้อ ระยะห่างระหว่างเส้นแนวต้านและเส้นแนวรับจะค่อย ๆ แคบลง โดยเส้นแนวรับจะมีความมั่นคงกว่า เมื่อแนวโน้มขาลงใกล้สูญเสียโมเมนตัม และราคาเกือบจะทะลุเส้นแนวรับลงไป ราคาก็กลับพลิกผันขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มต้นแนวโน้มขาขึ้นใหม่ ผู้ซื้อรวมพลังมากพอที่จะทะลุเส้นแนวต้านของผู้ขาย ซึ่งจะส่งผลให้แนวโน้มขาลงสิ้นสุดลงในที่สุด
นอกจากนี้ รูปแบบ falling wedge สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างแนวโน้มขาขึ้นที่มั่นคง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดีดตัวของราคาในระยะสั้น แต่ในกรณีนี้ มันยังคงทำหน้าที่เป็นรูปแบบขาขึ้น และส่งสัญญาณถึงการดำเนินต่อไปของแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบ rising wedge
รูปแบบ rising wedge เป็นรูปแบบขาขึ้นหรือขาลง?
รูปแบบ rising wedge สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในช่วงแนวโน้มขาขึ้นและขาลง ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น มันมักจะปรากฏขึ้นก่อนการกลับตัวลงของราคา ส่วนในแนวโน้มขาลง มักจะเกิดขึ้นในช่วงปลายของช่วงสั้น ๆ ของการรวมตัวในทิศทางขาขึ้น ทั้งสองกรณีแสดงให้เห็นว่าแรงซื้อกำลังยอมจำนนต่อแรงขายเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสัญญาณของการกลับตัวเป็นขาลง หรือการต่อเนื่องของแนวโน้มขาลง ดังนั้น รูปแบบ rising wedge จึงถูกจัดเป็นรูปแบบขาลง
รูปแบบ Rising Wedge น่าเชื่อถือแค่ไหน?
เมื่อ rising wedge ปรากฏขึ้นบนกราฟ นั่นถือเป็นสัญญาณของการทะลุสู่แนวโน้มขาลงจะกำลังจะเกิดขึ้น นักเทคนิคอลมืออาชีพยังยกย่องว่ามันเป็นรูปแบบขาลงที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ รูปแบบ rising wedge มักจะตามมาด้วยการทะลุผ่านโดยราคาจะปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทรดเดอร์จำนวนมากจึงจับตาดูรูปแบบนี้เนื่องจากมันเป็นวิธีเพิ่มผลกำไรสูงสุดในช่วงเวลาสั้น ๆ
มีรูปแบบหลอก ๆ หลายแบบที่มือใหม่อาจสับสนกับรูปแบบ rising wedge เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คุณต้องสังเกตความแตกต่างระหว่างราคาและปริมาณการซื้อขาย (price/volume divergence) อย่างใกล้ชิด และควรรู้ไว้ว่า หากรูปแบบ rising wedge นั้นเป็นรูปแบบที่แท้จริงและถูกต้อง ราคาจะต้องสัมผัสเส้นแนวรับและแนวต้านอย่างน้อย 3 ครั้ง
สรุป
สรุปแล้ว รูปแบบ rising Wedge เป็นรูปแบบการกลับตัวเป็นขาลงที่เชื่อถือได้และมีประโยชน์มาก มันเป็นรูปแบบที่สังเกตเห็นได้ง่ายและใช้ได้กับการเทรดทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ในขณะเดียวกัน การตีความรูปแบบ rising Wedge โดยไม่พิจารณาสภาพตลาดในปัจจุบันทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องยาก ก่อนตัดสินใจเทรด สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาความยาวของแนวโน้มและบริบทของการเกิดรูปแบบ การใช้เครื่องมือและตัวบ่งชี้ทางเทคนิคอื่น ๆ ช่วยยืนยันได้ว่ารูปแบบ Rising Wedge ที่ปรากฏนั้นถูกต้องและทำนายการกลับตัวเป็นขาลงจริง ๆ
สุดท้าย เมื่อคุณระบุรูปแบบ rising Wedge ได้แล้วและเห็นการทะลุแล้ว คุณจะสามารถเข้าเปิดคำสั่งซื้อขายได้ อย่าลืมวางแผนการออกโดยกำหนดเป้าหมายกำไรให้กับสถานะของคุณ และคุณอาจใช้คำสั่ง stop-loss เพื่อลดความเสี่ยงได้อีกด้วย