FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม
เปิดบัญชี
เปิดบัญชีล็อกอิน
เปิดบัญชี

04 เม.ย. 2025

กลยุทธ์

ความสัมพันธ์ของคู่สกุลเงินฟอเร็กซ์คืออะไร และจะเทรดด้วยวิธีนี้ได้อย่างไร

Main.jpg

ความสัมพันธ์ของสกุลเงิน (Currency Correlation) ในตลาดฟอเร็กซ์คืออะไร?

ความสัมพันธ์ของสกุลเงินในตลาดฟอเร็กซ์ เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเข้าใจ เพราะมันสามารถส่งผลต่อผลการเทรดได้โดยที่เทรดเดอร์อาจไม่รู้ตัว

ความสัมพันธ์ คือ ความเชื่อมโยงระหว่างสองสิ่งหรือมากกว่า ในตลาดฟอเร็กซ์ ความสัมพันธ์ของสกุลเงินหมายถึงการที่คู่สกุลเงินต่าง ๆ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันหรือต่างกัน โดยสามารถวัดได้ว่าคู่เงินเหล่านั้นมีแนวโน้มเคลื่อนไหวไปด้วยกันมากน้อยแค่ไหน ยิ่งความสัมพันธ์แข็งแกร่งเท่าไร กราฟราคาของคู่เงินเหล่านั้นก็จะมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ความสัมพันธ์มี 2 ประเภทหลัก:

ความสัมพันธ์ทางบวก (Positive Correlation)

ความสัมพันธ์ทางบวกหมายถึงสองคู่เงินเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน

01.jpg

ความสัมพันธ์ทางลบ (Negative Correlation)

ความสัมพันธ์ทางลบหรือความสัมพันธ์แบบผกผันหมายถึงสองคู่เงินจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน

02.jpg

หมายเหตุว่าถ้าคู่เงินทั้งสองเคลื่อนที่แบบสุ่มโดยไม่มีแนวโน้มที่สัมพันธ์กัน นั่นหมายความว่าไม่มีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างพวกมัน

สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คืออะไร?

สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คือค่าที่ใช้วัดความแข็งแกร่งหรือความอ่อนของความสัมพันธ์ระหว่างคู่สกุลเงิน ค่านี้มีช่วงตั้งแต่ -1.0 ถึง +1.0 โดยคุณจะไม่ค่อยเห็นค่าที่เป็น -1.0 หรือ +1.0 แบบเป๊ะ ๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียง เช่น 0.8 หรือ 0.7

  • ยิ่งค่าเข้าใกล้ 1.0 แสดงว่าคู่สกุลเงินมีความสัมพันธ์กันอย่างแข็งแกร่ง (ค่าของพวกมันเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่เกี่ยวข้องกัน) ในทางตรงกันข้าม ยิ่งค่าเข้าใกล้ 0.0 แสดงว่าความสัมพันธ์ระหว่างคู่สกุลเงินอ่อนแอลง

  • เครื่องหมาย ‘+’ หมายถึง สหสัมพันธ์ทางบวก ขณะที่เครื่องหมาย ‘-’ หมายถึง สหสัมพันธ์ทางลบระหว่างคู่สกุลเงิน

ความสัมพันธ์แบบไหนถือว่าแข็งแกร่ง?

หากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ต่ำกว่า -0.7 หรือสูงกว่า +0.7 ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สกุลเงินจะถือว่าแข็งแกร่ง ในทางตรงกันข้าม ถ้าค่าอยู่ ระหว่าง -0.7 ถึง +0.7 แสดงว่าคู่สกุลเงินมีความสัมพันธ์ที่อ่อนแอ ส่วนค่าที่ใกล้ 0 แสดงว่าคู่สกุลเงินนั้น ๆ แทบไม่มีความสัมพันธ์กันเลย

คู่สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์กันสูงในตลาดฟอเร็กซ์

ตารางนี้จะแสดงคู่สกุลเงินที่ถูกเทรดมากที่สุดซึ่งมีความสัมพันธ์ทางลบหรือทางบวกที่แข็งแกร่ง

คู่ที่ 1

คู่ที่ 2

ประเภทของความสัมพันธ์

AUDUSD

NZDUSD

ทางบวก

AUDUSD

GBPUSD

ทางบวก

EURUSD

GBPUSD

ทางบวก

GBPUSD

GBPJPY

ทางบวก

USDJPY

GBPJPY

ทางบวก

EURUSD

USDCHF

ทางลบ

GBPUSD

USDCAD

ทางลบ

GBPUSD

USDCHF

ทางลบ

USDCAD

EURJPY

ทางลบ

USDCAD

AUDUSD

ทางลบ

การติดตามความสัมพันธ์ระหว่างคู่สกุลเงินในตลาดฟอเร็กซ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน

ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์อาจตั้งใจจะเปิดสถานะ Long (ซื้อ) USDCAD และสถานะ Short (ขาย) EURJPY โดยคิดว่ามันเป็นคนละคำสั่งซื้อขายที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ในความเป็นจริง คู่สกุลเงินทั้งสองมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามเนื่องจากพวกมันมีความสัมพันธ์ทางลบที่แข็งแกร่ง กรณีนี้ เทรดเดอร์ได้เปิดสถานะที่เกือบจะหักล้างกันเอง ในแง่ดี เทรดเดอร์อาจกำไรจากทั้งสองคำสั่งซื้อขาย แต่ในแง่เสี่ยง ก็อาจขาดทุนทั้งคู่ได้เช่นกัน เพราะ USDCAD และ EURJPY มีความสัมพันธ์สูง

กลยุทธ์การเทรดโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สกุลเงินในตลาดฟอเร็กซ์

กลยุทธ์การรับมือ (Coping Strategy)

จากกราฟด้านบน คุณจะเห็นว่า AUDUSD และ NZDUSD มีความสัมพันธ์ทางบวกสูง หากดูกราฟราคาของทั้งสองคู่ จะพบว่าเคลื่อนไหวใกล้เคียงกันมาก เทคนิคคือ เมื่อคู่หนึ่งเคลื่อนไหวช้ากว่าอีกคู่ คุณสามารถคาดการณ์ทิศทางของมันได้โดยดูจากคู่ที่เคลื่อนไหวนำหน้า

กลยุทธ์การตรวจสอบซ้ำ (Double-Check Strategy)

หากคุณเปิดออร์เดอร์ด้วยคู่สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องระวังเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงได้ เช่น ถ้าคุณซื้อ AUDUSD และ NZDUSD ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางบวก หากทิศทางถูกต้อง คุณจะได้กำไรสองเท่า แต่หากผิดทาง คุณก็จะขาดทุนสองเท่าเช่นกัน แล้วเทรดเดอร์ควรลดความเสี่ยงนี้อย่างไรดี? ก็ใช้สัญญาณจากคู่สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์กันไงล่ะ!

ตัวอย่างเช่น หากคุณวิเคราะห์ EURUSD แล้วคาดว่าจะขึ้น เช่นนั้นอย่าเพิ่งเปิดสถานะทันที แต่ให้วิเคราะห์คู่ที่มีความสัมพันธ์ทางบวก (เช่น GBPUSD) ด้วย เพื่อยืนยันสัญญาน หาก GBPUSD ให้สัญญาณขาขึ้นเช่นกัน คุณก็จะสามารถเปิดสถานะ Long EURUSD ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น!

กลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยง (Hedging Strategy)

แล้วสกุลเงินที่มีความสัมพันธ์ในทางลบล่ะ? เทรดเดอร์สามารถใช้มันเพื่อการป้องกันความเสี่ยงได้นะ! ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ซื้อคู่เงินสองคู่ที่มีความสัมพันธ์ในทางลบ หากการคาดการณ์ผิดพลาดและคู่เงินแรกเคลื่อนไหวตรงข้ามกับความคาดหวังของเทรดเดอร์ คำสั่งซื้อขายที่สองจะช่วยชดเชยความสูญเสียให้

การป้องกันความเสี่ยง คือ การลงทุนที่เทรดเดอร์ทำเพื่อลดความเสี่ยงจากการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในทิศทางตรงกันข้าม

การเปิดสถานะเพิ่มเติมที่มีแนวโน้มจะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับสถานะแรกถือเป็นกลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น หากคู่เงินมีความสัมพันธ์ในทางบวก และนักเทรดต้องการป้องกันความเสี่ยง พวกเขาควรพิจารณาซื้อคู่เงินแรกและขายคู่เงินที่สอง ในทางกลับกัน หากคู่เงินมีความสัมพันธ์ในทางลบ และเทรดเดอร์ต้องการป้องกันความเสี่ยง พวกเขาควรพิจารณาซื้อหรือขายทั้งสองคู่เงิน (เปิดสถานะในทิศทางเดียวกัน)

ตัวอย่างการเทรดฟอเร็กซ์โดยใช้ความสัมพันธ์ของสกุลเงิน

ตัวอย่างเช่น คุณเปิดกราฟ NZD/USD และสังเกตเห็นสองสัญญาณการเปิดสถานะ long (ซื้อ): คู่เงินนี้ตกลงมาแตะเส้นล่างของ Bollinger Bands และแท่งเทียนเกิดเป็น Pin Bar จากนั้นคุณเปลี่ยนไปดูคู่เงินที่มีความสัมพันธ์กันอย่าง AUD/USD ซึ่งดีมาก! เพราะมันก็แสดงสัญญาณซื้อเช่นกัน: เส้นสัญญาณของ Stochastic Oscillator ตัดเส้นประจากด้านล่างขึ้นด้านบน ด้วยสัญญาณเหล่านี้ คุณอาจได้กำไรสองเท่าจากการเทรดทั้ง NZD/USD และ AUD/USD

03.jpg

ความสัมพันธ์ในตลาดหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์

ไม่เพียงแต่คู่เงินเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กัน แต่สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น และดัชนีหุ้นก็มีความสัมพันธ์เช่นกัน! ทั้งหมดนี้สามารถมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งกับคู่เงินด้วย

ตัวอย่างเช่น ทองคำ (XAU/USD) มักมีความสัมพันธ์ทางลบกับดอลลาร์สหรัฐ (USD) และมีความสัมพันธ์ทางบวกที่แข็งแกร่งกับโลหะเงิน (XAG/USD)

ขณะที่น้ำมันดิบ (XBR/USD และ XTI/USD) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับดอลลาร์แคนาดา (CAD) เนื่องจากแคนาดาเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ไปยังสหรัฐฯ ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันขึ้น คู่เงิน CAD/JPY มักจะขึ้น ในขณะที่ USD/CAD มักจะลง

นอกจากนี้ ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ เช่น S&P 500 (US500) และ Nasdaq 100 (US100) ก็มีความสัมพันธ์ทางบวกที่แข็งแกร่ง ส่วนสกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin และ Ethereum ก็มีความสัมพันธ์ทางบวกสูงเช่นกัน และสุดท้าย หุ้นขนาดใหญ่ (Large-Cap Stocks) เมื่อหุ้นตัวหนึ่งในกลุ่มธุรกิจเดียวกันปรับตัวขึ้น หุ้นอื่น ๆ ในกลุ่มธุรกิจนั้นก็มักจะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน

วิธีการเทรดฟอเร็กซ์ด้วยคู่สกุลเงินที่มีความสัมพันธ์กัน

คุณได้เรียนรู้วิธีการต่าง ๆ ในการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ เพื่อเริ่มต้นเทรดสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กัน ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้:

  1. ดาวน์โหลด แอป FBS หรือ MetaTrader 4/5

  2. เปิดบัญชีใน แอป FBS หรือบัญชี MT5 ใน Trader Area วิเคราะห์ตลาดอย่างเหมาะสม และเลือกสินทรัพย์ที่คุณสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคู่สกุลเงิน หุ้น หรือสินค้าโภคภัณฑ์

  3. เลือกกลยุทธ์จากที่กล่าวมาข้างต้น และเลือกสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กัน

  4. จัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น คำสั่ง Stop Loss และ Take Profit ซึ่งมีประโยชน์มากในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง ข้อควรจำ: แม้ว่าเครื่องมือเหล่านี้จะไม่สามารถปกป้องคุณได้ 100% แต่ก็ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

  5. เปิสถานะและเฝ้าดูมัน!

สรุป

การรู้ว่าคู่สกุลเงินต่างๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไรเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น คู่สกุลเงินบางคู่และสินทรัพย์อื่น ๆ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่บางคู่เคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้าม การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ในตลาดการเงินจะช่วยให้เทรดเดอร์จัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น และยังเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่จะเพิ่มผลกำไรได้!

สำหรับมือใหม่

หากคุณเพิ่งเริ่มเทรด บัญชีทดลอง จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สมบูรณ์แบบ เพราะมันช่วยให้คุณฝึกเทรดได้โดยไม่มีความเสี่ยงใด ๆ เมื่อคุณเปิดบัญชีนี้ คุณจะได้รับเงินทดลอง 10,000 ดอลลาร์ นอกจากนี้ โปรดทราบว่ายอดฝากขั้นต่ำของ FBS เริ่มต้นเพียง 5 ดอลลาร์ สำหรับบัญชีจริง คุณสามารถเริ่มต้นอาชีพเทรดเดอร์ด้วยเงินเพียงเล็กน้อย และจำกัดความเสี่ยง ในขณะที่ยังมีโอกาสได้รับกำไรในบัญชีจริง!

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก

FBS ณ สื่อสังคมออนไลน์

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon

ติดต่อเรา

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
App Store
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
Google Play

การซื้อขาย

บริษัท

เกี่ยวกับ FBS

เอกสารทางกฎหมาย

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้

ศูนย์ช่วยเหลือ

โปรแกรมพันธมิตร

เว็บไซต์นี้ดำเนินการโดย FBS Markets Inc. หมายเลขจดทะเบียน 000001317 ซึ่ง FBS Markets Inc. ได้รับการจดทะเบียนโดย Financial Services Commission ภายใต้พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ฯ 2021 (Securities Industry Act 2021) ใบอนุญาตเลขที่ 000102/31 ที่อยู่สำนักงาน: 9725, Fabers Road Extension, Unit 1, Belize City, Belize

โดย FBS Markets Inc. ไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้อยู่อาศัยในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง: สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร, อิสราเอล, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, เมียนมาร์

ธุรกรรมการชำระเงินได้รับการจัดการโดย HDC Technologies Ltd.; Registration No. HE 370778; Legal address: Arch. Makariou III & Vyronos, P. Lordos Center, Block B, Office 203, Limassol, Cyprus ที่อยู่เพิ่มเติม: Office 267, Irene Court, Corner Rigenas and 28th October street, Agia Triada, 3035, Limassol, Cyprus

เบอร์ติดต่อ: +357 22 010970 เบอร์ติดต่อเพิ่มเติม: +501 611 0594

สำหรับความร่วมมือ กรุณาติดต่อเราผ่าน [email protected]

คำเตือนเรื่องความเสี่ยง: ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขาย คุณควรเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดสกุลเงินและการซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นอย่างถ่องแท้ และคุณควรตระหนักถึงระดับประสบการณ์ของตนเอง

การคัดลอก การทำสำเนา การเผยแพร่ รวมถึงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเนื้อหาใดๆ จากเว็บไซต์นี้สามารถดำเนินการได้เฉพาะเมื่อได้รับการอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การชี้แนะ หรือการชักชวนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น