FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม
เปิดบัญชี
เปิดบัญชีล็อกอิน
เปิดบัญชี

15 ม.ค. 2025

พื้นฐาน

สภาพคล่องคืออะไร? ตัวอย่างเชิงปฏิบัติและการประยุกต์ใช้จริง

MDP-6729_1_cover_1200x675.png

สภาพคล่องคืออะไร?

การที่สินทรัพย์ (เงิน หุ้น อสังหาริมทรัพย์ สกุลเงินดิจิทัล ฯลฯ) สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วโดยที่ราคาไม่เปลี่ยนไปมากนัก สิ่งนี้จะถูกเรียกว่าสภาพคล่อง ยิ่งสภาพคล่องสูงเท่าไร การขายสินทรัพย์ในราคาตลาดก็จะยิ่งง่ายขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ที่ดิน ของสะสม หรืออสังหาริมทรัพย์ ต่างก็มีสภาพคล่องต่ำกว่าเงินสดและสิ่งเทียบเท่าเงินสดเป็นอย่างมาก

ประเภทของสภาพคล่อง

สภาพคล่องมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน แต่ละประเภทจะสอดคล้องกับสภาพคล่องในแต่ละระดับ และทุกประเภทล้วนมีความจำเป็นต่อการสร้างกลยุทธ์การลงทุนที่แข็งแกร่ง

สภาพคล่องของตลาด

สภาพคล่องของตลาดคือความง่ายในการซื้อหรือขายสินทรัพย์โดยที่ราคาไม่เปลี่ยนไปมากนัก หากสภาพคล่องของตลาดสูง การหาผู้ซื้อหรือผู้ขายในราคาตลาดก็จะเป็นเรื่องที่สามารถทำได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น หุ้น ของบริษัทขนาดใหญ่ สกุลเงิน สกุลเงินดิจิทัล และพันธบัตรรัฐบาลต่างก็มีสภาพคล่องสูง เนื่องจากผู้คนซื้อขายกันบ่อยครั้ง สินทรัพย์ที่มีการซื้อขายกันไม่บ่อยนัก เช่น อสังหาริมทรัพย์ หรือของสะสมหายาก มักจะมีสภาพคล่องต่ำกว่ามาก ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานหลายเดือนในการขายบ้านหรือภาพวาดหายาก แถมราคาก็อาจมีความผันผวนสูง

ปัจจัยสำคัญ: ยิ่งมีผู้ซื้อและผู้ขายอยู่ในตลาดมากเท่าไร การบรรลุข้อตกลงในราคาที่ต้องการก็จะง่ายขึ้นเท่านั้น สภาพคล่องของตลาดที่สูงจะช่วยให้การซื้อขายราบรื่นยิ่งขึ้นและลดต้นทุนการทำธุรกรรม

สภาพคล่องทางบัญชี

การที่บริษัทสามารถชำระหนี้ระยะสั้น (เงินกู้ ตั๋วเงิน) ด้วยสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง เช่น เงินสด บัญชีลูกหนี้ และสินทรัพย์ระยะสั้นอื่น ๆ สิ่งนั้นจะถูกเรียกว่าสภาพคล่องทางบัญชี

ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การลงทุนระยะยาวและอสังหาริมทรัพย์จะมีสภาพคล่องต่ำกว่า

ปัจจัยสำคัญ: การวัดผล เช่น อัตราส่วนทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วจะช่วยประเมินสภาพคล่องทางบัญชี และส่งผลต่อสุขภาพทางการเงินของบริษัท (ว่าบริษัทสามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันทันทีได้หรือไม่)

สภาพคล่องระดับสินทรัพย์

เมื่อเราพูดถึงสินทรัพย์ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือสภาพคล่องในระดับสินทรัพย์ของสินทรัพย์ หากคุณสามารถแปลงสินทรัพย์หนึ่งเป็นเงินสดได้โดยที่สูญเสียมูลค่าไปเพียงเล็กน้อย นั่นแสดงว่าสินทรัพย์ดังกล่าวมีสภาพคล่อง (เช่น เงินสด หุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ พันธบัตรรัฐบาล) ส่วนที่ดิน อุปกรณ์ และของสะสมล้วนมีสภาพคล่องต่ำ

ปัจจัยสำคัญ: นักลงทุนจะพิจารณาสิ่งนี้ในตอนที่เลือกสินทรัพย์เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงเงินทุนในยามที่ต้องการ

สภาพคล่องระดับพอร์ตการลงทุน

สภาพคล่องอีกประเภทหนึ่งคือสภาพคล่องระดับพอร์ตการลงทุน โดยพื้นฐานแล้วนี่เป็นแนวคิดเดียวกันกับสภาพคล่องระดับสินทรัพย์ เพียงแต่เปลี่ยนเป็นพอร์ตการลงทุน โดยรวมแล้วก็คือคุณสามารถขายพอร์ตการลงทุนได้เร็วเพียงใดโดยที่ไม่ขาดทุน คุณสามารถแปลงพอร์ตการลงทุนของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง เช่น หุ้นหรือพันธบัตร เป็นเงินได้อย่างง่ายดาย แต่พอร์ตการลงทุนที่มีการลงทุนระยะยาวหรือสินทรัพย์หายากนั้นยากที่จะขายได้อย่างรวดเร็ว

ปัจจัยหลัก: สภาพคล่องของพอร์ตการลงทุนจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงและต่ำในพอร์ตการลงทุนนั้น

ความต้องการสภาพคล่องที่แตกต่างกันในแต่ละภาคส่วนของเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรมและภาคส่วนต่าง ๆ มีความต้องการสภาพคล่องที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาต้องการเข้าถึงเงินสดเร็วเพียงใด ข้อกำหนดเหล่านี้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะ ความต้องการ และเป้าหมายของอุตสาหกรรม

ตัวอย่างเช่น:

  • ธุรกิจค้าปลีกต้องการสภาพคล่องสูงเพื่อชำระเงินให้กับซัพพลายเออร์และจัดการการดำเนินงานประจำวัน

  • ในองค์กรธนาคารและสถาบันการเงินก็เช่นกัน พวกเขาต้องรักษาสภาพคล่องให้สูงเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ปฏิบัติงานประจำวัน และจ่ายหนี้

  • บริษัทก่อสร้างอาจทำงานกับสินทรัพย์สภาพที่มีคล่องต่ำ เช่น ที่ดินและโครงการระยะยาว

  • สตาร์ทอัปด้านเทคโนโลยีอาจมีสภาพคล่องต่ำ แถมต้องพึ่งพาการลงทุนระยะยาวเพื่อการเติบโต

ปัจจัยสำคัญ: ความต้องการสภาพคล่องของแต่ละภาคส่วนจะขึ้นอยู่กับการดำเนินงาน วงจรกระแสเงินสด และข้อกำหนดด้านกฎระเบียบของภาคส่วนนั้น ๆ ในอุตสาหกรรมที่ต้องการหมุนเวียนเงินทุนอย่างรวดเร็วและความเร็วในการชำระหนี้ที่สูง สภาพคล่องถือเป็นสิ่งจำเป็น

วิธีการวัด

มีสามวิธีหลักในการวัดสภาพคล่อง และประเมินความสามารถของบริษัทในการปฏิบัติตามภาระผูกพันในระยะสั้น

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน: การคำนวณและตัวอย่าง

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนจะประเมินความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้สินระยะสั้น (หนี้ที่ครบกำหนดภายในหนึ่งปี) โดยใช้สินทรัพย์ระยะสั้น ซึ่งมีสูตรคำนวณดังนี้:

MDP-6729_1200x400_2_TH.png

ตัวอย่างเช่น หากบริษัทมีสินทรัพย์มูลค่า 100,000 ดอลลาร์ (เงินสด 50,000 ดอลลาร์ บัญชีลูกหนี้ 30,000 ดอลลาร์ และสินค้าคงคลัง 20,000 ดอลลาร์) และหนี้สิน 70,000 ดอลลาร์ (บัญชีเจ้าหนี้ 40,000 ดอลลาร์ และหนี้ระยะสั้น 30,000 ดอลลาร์) อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทตามสูตรคือ 1.43 นั่นหมายความว่าทุก ๆ 1 ดอลลาร์ ในหนี้สิน บริษัทจะมี 1.43 ดอลลาร์ ในสินทรัพย์ ซึ่งทำให้มีเงินเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ โดยทั่วไปแล้วอัตราส่วนที่สูงกว่า 1 ถือว่าดีมาก ๆ (แต่การตีความที่แม่นยำกว่านี้จะขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม)

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio หรือ Acid Test Ratio): การคำนวณและตัวอย่าง

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว ( quick ratio หรือเรียกอีกอย่างว่า acid-test ratio) จะวัดความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้โดยใช้สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง แต่ไม่ใช่สินทรัพย์ทั้งหมด สิ่งนั้นทำให้การวัดนี้แม่นยำยิ่งขึ้นกว่าอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน คำว่า “acid test” หมายถึงการทดสอบอย่างรวดเร็วที่ให้ผลทันที

ซึ่งมีสูตรคำนวณดังนี้:

MDP-6729_1200x400_3_TH.png

สมมติว่าในขณะนี้บริษัทแห่งหนึ่งมีหนี้สินมูลค่า 70,000 ดอลลาร์ โดยมีสินทรัพย์ทั้งหมดมูลค่า 100,000 ดอลลาร์ และมีสินค้าคงคลังมูลค่า 20,000 ดอลลาร์ ในกรณีนั้น อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วคือ 1.14 ซึ่งก็เพียงพอที่จะชำระหนี้สินได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องขายสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ

อัตราส่วนเงินสด: การคำนวณและตัวอย่าง

นี่คือการวัดสภาพคล่องที่แม่นยำที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (เช่น ตั๋วเงินคลัง) เพียงพอหรือไม่ที่จะชำระหนี้ระยะสั้น ซึ่งมีสูตรคำนวณดังนี้:

MDP-6729_1200x400_4_TH.png

บริษัทที่มีเงินสดเพียง 50,000 ดอลลาร์ และเป็นหนี้อยู่ 70,000 ดอลลาร์ มีอัตราส่วนเงินสดอยู่ที่ 0.71 ซึ่งไม่ดีมาก ๆ เนื่องจากมันไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย (อัตราส่วนต่ำกว่า 1)

อัตราส่วนเหล่านี้ช่วยให้เข้าใจว่าบริษัทสามารถชำระหนี้ได้ง่ายเพียงใดในระยะสั้น และสามารถใช้หรือควรใช้สินทรัพย์ประเภทใดในการดำเนินการดังกล่าว แต่ละอัตราส่วนจะเน้นย้ำถึงด้านต่าง ๆ ของสภาพคล่อง ซึ่งช่วยให้ธุรกิจและนักลงทุนสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูล

การจัดอันดับสภาพคล่องของตลาด

เราสามารถแบ่งสินทรัพย์ทุกประเภทออกเป็นสามประเภทกว้าง ๆ ได้ตามสภาพคล่อง

สภาพคล่องสูง:

  • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด: สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด เนื่องจากคุณไม่จำเป็นต้องแปลงสภาพเพื่อใช้งาน แถมยังไม่มีความเสี่ยงในการสูญเสียมูลค่าในตอนที่ใช้งานอีกด้วย

  • หุ้น ของบริษัทใหญ่ ๆ เช่น Apple หรือ Amazon โดยปกติแล้วคุณสามารถซื้อขายได้อย่างง่ายดายในตลาดหลักทรัพย์ เพราะผู้ซื้อและผู้ขายแทบจะพร้อมซื้อขายกันเสมอ

  • คุณสามารถขายพันธบัตรรัฐบาลในตลาดได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากพันธบัตรดังกล่าวเป็นพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ (เช่น พันธบัตร รัฐบาลสหรัฐ) นักลงทุนมักพิจารณาว่าสินทรัพย์เหล่านี้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในตลาดการเงิน และพวกมันถูกซื้อขายอย่างแพร่หลายและได้รับความเชื่อถือในวงกว้าง

สภาพคล่องปานกลาง:

  • ตราสารหนี้เอกชนจะมีสภาพคล่องต่ำกว่าพันธบัตรรัฐบาลเนื่องจากมีความต้องการที่ต่ำกว่า สภาพคล่องยังขึ้นอยู่กับฐานะการเงินที่เชื่อถือได้และสภาวะของตลาดของบริษัทอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ตราสารหนี้เอกชนของบริษัท S&P 500 นั้นจะขายได้ค่อนข้างง่าย แต่ตราสารหนี้เอกชนของบริษัทขนาดเล็กนั้นอาจต้องใช้เวลานานกว่า

  • หุ้นขนาดเล็กหรือหุ้นที่ไม่เป็นที่นิยมอาจขายได้ยากเนื่องจากมีคนซื้อขายน้อยกว่า

  • สภาพคล่องของสินค้าโภคภัณฑ์นั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับกิจกรรมของตลาด สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ หรือ โลหะเงิน จะมีสภาพคล่องสูงกว่า ในขณะที่สินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบ เช่น น้ำมัน จะต้องมีการจัดการด้านโลจิสติกส์และเอกสารเพิ่มเติม ซึ่งทำให้สภาพคล่องลดลง

สภาพคล่องต่ำ:

  • อสังหาริมทรัพย์หรือของสะสม: การทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ต้องใช้เวลาในการหาผู้ซื้อ ต่อรองราคา และกรอกเอกสารให้ครบถ้วน บางครั้งคุณอาจต้องลดราคาลงอย่างมากเพื่อปิดการขายอย่างรวดเร็ว และราคาอาจผันผวนอย่างมากตามสภาวะตลาดและสถานที่ ของสะสมหายากอย่างเช่น ผลงานแท้ของปิกัสโซ อาจต้องใช้เวลาในการหาผู้ซื้อและตกลงราคากัน

  • ในกรณีของการลงทุนในบริษัทที่มีการดำเนินกิจการอยู่แล้วแต่ประสบปัญหาและบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นหรือก่อตั้งมาได้ไม่นาน การหาผู้ซื้อจะเป็นเรื่องที่ยากกว่า การลงทุนเหล่านี้จะอยู่ในบริษัทเอกชน และไม่มีตลาดสาธารณะสำหรับการซื้อขายอย่างรวดเร็ว

ปัจจัยสำคัญ: สภาพคล่องของสินทรัพย์จะขึ้นอยู่กับปริมาณการซื้อขาย ความลึกของตลาด ความโปร่งใสของตลาด และส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย ยิ่งสามารถทำธุรกรรมได้รวดเร็วมากขึ้นเท่าไร สภาพคล่องของสินทรัพย์ก็จะสูงขึ้นเท่านั้น

ผลกระทบของสภาพคล่อง

สภาพคล่องมีบทบาทสำคัญต่อนักลงทุนรายย่อย บริษัท อุตสาหกรรม รัฐบาล และต่อเศรษฐกิจโดยรวม

ตัวอย่างเช่น บุคคลอาจจำเป็นต้องขายรถของตนอย่างรวดเร็วเพื่อจ่ายบิลฉุกเฉิน (สภาพคล่องระดับสินทรัพย์) บริษัทต้องแน่ใจว่าสามารถจ่ายเงินพนักงานได้ตรงเวลา (สภาพคล่องทางบัญชี) รัฐบาลบริหารเงินสำรองในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำเพื่ออุ้มบริการสาธารณะต่าง ๆ (สภาพคล่องของตลาดและระดับภาคส่วน)

ประเด็นหลัก ๆ ที่สภาพคล่องสามารถมีอิทธิพลได้มีดังต่อไปนี้

ราคาสินทรัพย์

สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น หุ้นของบริษัทขนาดใหญ่หรือ สกุลเงินดิจิทัลยอดนิยม มักจะมีราคาที่เสถียรกว่า เนื่องจากปริมาณการซื้อขายที่สูง ราคาของสินทรัพย์จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ และโดยทั่วไปคุณสามารถขายหรือซื้อได้ในราคาที่ใกล้เคียงกับราคาตลาด

ในทางตรงกันข้าม สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ (เช่น อสังหาริมทรัพย์ หรือสกุลเงินดิจิทัลหายาก) อาจมีราคาที่ผันผวนสูงเนื่องจากจำนวนผู้ซื้อหรือผู้ขายมีจำกัด

ความเสี่ยง

สภาพคล่องสูงยังช่วยลดความเสี่ยงอีกด้วย หากคุณซื้อหรือขายได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถมั่นใจได้ว่าคุณจะไม่สูญเสียมากไปในตอนที่สภาวะตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องที่ต่ำจะเพิ่มความเสี่ยง เมื่อสินทรัพย์ที่ถือมาเป็นเวลานานกลายเป็นปัญหา นักลงทุนอาจเผชิญกับการขาดทุนจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดผันผวน หากสินทรัพย์ใช้เวลานานในการขาย

ความสามารถในการลงทุน

สภาพคล่องที่สูงจะมาพร้อมกับความยืดหยุ่นทสูงขึ้น การเปิดและปิดคำสั่งซื้อขายก็ทำได้ง่าย ซึ่งช่วยให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างรวดเร็ว (ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงได้ด้วย)

การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่องจำนวนมากสามารถจำกัดความสามารถในการลงทุนของคุณได้ คุณอาจไม่สามารถขายสินทรัพย์ได้อย่างรวดเร็วในยามที่คุณต้องการ และพลาดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากสภาวะตลาดที่เอื้ออำนวยมากกว่า

เสถียรภาพทางการเงิน

สภาพคล่องที่สูงจะส่งผลดีต่อเสถียรภาพของระบบการเงินโดยรวม มันช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจให้แข็งแรงและลดความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่เมื่อสินทรัพย์ไม่สามารถขายได้อย่างรวดเร็วก็อาจนำไปสู่การขาดสภาพคล่องในตลาด และทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและไม่มีความมั่นคง

ความพร้อมใช้งานของสินเชื่อ

สภาพคล่องสูงจะอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินเชื่อ เมื่อธนาคารและสถาบันการเงินสามารถขายสินทรัพย์ได้อย่างรวดเร็วหรือให้สภาพคล่อง นั่นแสดงว่าพวกเขาเต็มใจที่จะให้สินเชื่อและกู้ยืม อย่างไรก็ตาม หากสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ขายได้ยาก การปล่อยกู้ก็อาจจะมีวงจำกัด เนื่องจากสถาบันการเงินจะมีความเต็มใจน้อยลงที่จะปล่อยกู้

สรุป

สภาพคล่องเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อเสถียรภาพทางการเงิน มันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในทุกระดับ ตั้งแต่บุคคลที่บริหารการเงินส่วนบุคคลไปจนถึงธุรกิจและนักลงทุนที่ดำเนินธุรกิจในตลาด โดยการเข้าใจสภาพคล่องประเภทต่าง ๆ และวิธีการวัดสภาพคล่องเหล่านั้น บุคคลหรือบริษัทจะสามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูลในการปรับทรัพยากรให้เหมาะสม ลดความเสี่ยง และใช้โอกาสต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก

FBS ณ สื่อสังคมออนไลน์

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon

ติดต่อเรา

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
App Store
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
Google Play

การซื้อขาย

บริษัท

เกี่ยวกับ FBS

เอกสารทางกฎหมาย

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้

ศูนย์ช่วยเหลือ

โปรแกรมพันธมิตร

เว็บไซต์นี้ดำเนินการโดย FBS Markets Inc. หมายเลขจดทะเบียน 000001317 ซึ่ง FBS Markets Inc. ได้รับการจดทะเบียนโดย Financial Services Commission ภายใต้พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ฯ 2021 (Securities Industry Act 2021) ใบอนุญาตเลขที่ 000102/31 ที่อยู่สำนักงาน: 9725, Fabers Road Extension, Unit 1, Belize City, Belize

โดย FBS Markets Inc. ไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้อยู่อาศัยในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง: สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร, อิสราเอล, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, เมียนมาร์

ธุรกรรมการชำระเงินได้รับการจัดการโดย HDC Technologies Ltd.; Registration No. HE 370778; Legal address: Arch. Makariou III & Vyronos, P. Lordos Center, Block B, Office 203, Limassol, Cyprus ที่อยู่เพิ่มเติม: Office 267, Irene Court, Corner Rigenas and 28th October street, Agia Triada, 3035, Limassol, Cyprus

เบอร์ติดต่อ: +357 22 010970 เบอร์ติดต่อเพิ่มเติม: +501 611 0594

สำหรับความร่วมมือ กรุณาติดต่อเราผ่าน [email protected]

คำเตือนเรื่องความเสี่ยง: ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขาย คุณควรเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดสกุลเงินและการซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นอย่างถ่องแท้ และคุณควรตระหนักถึงระดับประสบการณ์ของตนเอง

การคัดลอก การทำสำเนา การเผยแพร่ รวมถึงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเนื้อหาใดๆ จากเว็บไซต์นี้สามารถดำเนินการได้เฉพาะเมื่อได้รับการอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การชี้แนะ หรือการชักชวนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น